16/1/51

มือที่มองไม่เห็น...หัวคนจน

วัฒนะ วรรณ

สำนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมที่มีสอนอยู่ทั่วไปในมหาวิทยาลัย มีความเชื่ออยู่ว่าทรัพยากรเมื่อถูกแปรรูปเป็นผลผลิตสำหรับให้มนุษย์อย่างเราๆท่านๆ ได้บริโภค จะมีแนวโน้มเข้าสู่ดุลยภาพอยู่ตลอดเวลา หมายความว่า สินค้าทุกประเภทที่ถูกผลิตภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม จะถูกใช้ให้หมดไปโดย ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดคุ้มค่ามากที่สุด ฟังดูแล้วก็เหมือนจะดีถ้าเรามองทางด้านการจัดสรรทรัพยากร เพราะระบบเศรษฐกิจแบบนี้จะไม่ใช้ทรัพยากรแบบทิ้งๆขว้างๆ

แต่ถ้าเรานำปรัชญาเสรียมนี้ไปลองใช้วิเคราะห์การจัดสรรทรัพยากรน้ำมัน ที่ใครหลายคนในตอนนี้ไม่อยากจะได้ยินชื่อนี้ตามสื่อเท่าไร เพราะถ้าคำว่า “น้ำมัน” ออกสื่อก็หมายความว่าราคามันกำลังขยับขึ้น โดยเทียบราคาจากตลาดสิงคโปร์ (อย่าพึ่งไปสนใจมันเลยว่าเกี่ยวอะไรกับสิงคโปร์ รู้แต่เพียงว่าประเทศนี้เคยเป็นต้นแบบการพัฒนาเศรษฐกิจที่เทคโนแครตไทยหลายคนสนใจ แต่ตอนนี้คงไม่แล้ว อิอิ) การขยับขึ้นลงแบบนี้เรียกว่า “ราคาน้ำมันลอยตัว” หรือการกำหนดราคาโดย “กลไกตลาด”(คือมือที่มองไม่เห็นนั่นแหละ) แน่นอน ทรัพยากรน้ำมันมีอยู่จำกัด(อุปทาน) การที่ราคาน้ำมันขยับสูงขึ้นก็เนื่องจาก มีความต้องการใช้เป็นจำนวนมาก(อุปสงค์) ดังนั้น การเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันเป็นเครื่องเตือนเราให้รู้จักระมัดระวังการใช้น้ำมันกันอย่างประหยัด ดังเช่นพวกเทคโนแครต ในบ้านเมืองเราออกมาพร่ำสอนอยู่ทุกวันในช่วงนี้ ดังนั้นอย่าเที่ยวเอาน้ำมันไปใส่รถแล้วขับเล่น รถแท๊กซี่ที่ขึ้นป้ายบอกชาวบ้านชาวเมืองว่า “ว่าง” ก็ควรจะนอนอยู่บ้าน ไม่ควรออกมาขับรถเล่นกัน..อิอิ (ไม่ขำเหรอ)

สรุปก็คือทรัพยากรน้ำมันมีจำกัด แต่ความต้องการเพิ่มขึ้น ราคาน้ำมันก็ต้องสูงขึ้น(เทียบราคาจากสิงคโปร์..อิอิ) เมื่อราคาสูงขึ้น คนที่ไม่ค่อยมีเงินก็จะใช้น้อยลง ความต้องการโดยรวมก็จะลดลง (เพาะไม่มีใครอยากออกมาขับรถเล่น) การบริโภคน้ำมันก็จะเข้าสู่ดุลยภาพ โอ...บิงโก อะไรจะเยี่ยมขนาดนี้ในการจัดสรรทรัพยากร

นั่นแน่ !! แต่มันยังไม่จบ ฟังเหมือนจะดูดี แต่รูปธรรมไอ้การจัดสรรทรัพยากรแบบนี้ มันโยนความรับผิดชอบในการลดการบริโภคให้กับคนจน คนที่มีรายได้น้อย ก็เพราะเรามีรายได้น้อยจึงไม่มีเงินไปใช้น้ำมันซึ่งมีราคาแพงขึ้น แต่คนรวยเขาไม่กระทบเพราะคนรวยมีรายได้มาก สัดส่วนระหว่างค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันกับรายได้ของเขาต่ำ ลองคิดดูว่าคนที่มีรายได้เดือนละหนึ่งแสนขึ้นไปจะเดือนร้อนมั้ย แต่ในความเป็นจริงประเทศไทยมีคนรวยมายมายกว่านี้อีกจำนวนมาก แต่สำหรับคนจนคนที่มีรายได้น้อยการที่ค่าใช้จ่ายในการครองชีพเพิ่มขึ้นมาอีกวันละ 5 บาทก็เดือดร้อนแล้ว เพราะน้ำมันเป็นต้นทุนที่สำคัญในการผลิตสินค้าทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การขนส่งมวลชน รถเมล์ เรือเมล์ ที่ใช้เดินทางกันอยู่ทุกวัน ดังนั้น การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันมันส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างที่เราประสบพบเจออยู่ตอนนี้

ดังนั้นไอ้กลไกตลาดแบบนี้ มันช่วยในการจัดสรรค์ทรัพยากรจริง แต่เป็นการจัดสรรค์การใช้ทรัพยากรที่จำเป็นให้กับคนรวยก่อนเพราะมันไม่ได้ไปลดคุณภาพชีวิตของคนรวย แต่สำหรับคนจนต้องลดการบริโภคลงซึ่งมันเป็นการลดคุณภาพชีวิตด้วย ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเราพอมีรถส่วนตัวใช้เพราะเรามีบ้านพักอยู่ชานเมือง (บ้านในเมืองมันแพง) การขนส่งมวลชนรัฐก็ไม่ใส่ใจดูแลให้ดี การขับรถเข้ามาทำงานในเมืองจึงเป็นทางเลือกที่ดี แต่เมื่อน้ำมันแพงขึ้นการเดินทางโดยรถส่วนตัวของคนมีรายได้ไม่มากก็เป็นเรื่องสิ้นเปลือง ก็ต้องมานักรถเมล์บ้าง ก็จำเป็นต้องตื่นเช้ามากๆ และกว่าจะกลับถึงบ้านก็ต้องยืนจนค่ำ แต่ถ้าเราใช้รถเมล์อยู่แล้ว เราไม่มีทางเลือกเราก็จำเป็นต้องไปลดการบริโภคอย่างอื่นแทน เช่นลดการซื้อเสื้อผ้า ลดดูหนัง การพักผ่อนอื่นๆ ก็เลยกลายเป็นมนุษย์เครื่องจักรเข้าไปอีก

การอ้างว่ารัฐจำเป็นต้องปล่อยให้ราคาน้ำมันขึ้นลงโดยอิสระตามกลไกตลาด จึงเป็นการผลักภาระให้กับคนจนมากว่าคนรวย ยิ่งการโฆษณาให้เราประหยัดน้ำมันเพื่อชาติยิ่งเหลวใหลไปกันใหญ่ แทนที่รัฐจะพยายามสร้างความเป็นธรรมในการใช้ทรัพยากรในสังคมให้เกิดความเท่าเทียม โดยการเก็บภาษีจากคนรวยในสัดส่วนที่สูงและนำเงินเหล่านั้นไปใช้จ่ายในการสร้างรัฐสวัสดิการเพื่อลดภาระการครองชีพให้กับคนจน เช่น นำไปให้สวัสดิการการศึกษาและการรักษาพยายาบาลฟรี การเพิ่มเงินเดือนให้กับคนแก่(ปัจจุบันรัฐจ่ายให้กับบางคนเดือนละ 500 บาท) การสร้างระบบขนส่งมวลชนที่ดี การสร้างที่พักอาศัยใกล้ที่ทำงานราคาถูก

แต่การเก็บภาษีจากรถรวยในอัตราที่สูงพวกนักการเมืองและชนชั้นปกครองอื่นๆคงไม่ยอมเพราะว่าพวกเขาจะได้รับผลกระทบโดยตรง เราจึงจำเป็นต้องรวมพลังกันในการต่อสู้

ดังนั้นเวลาไอ้พวกรัฐมนตรีหรือเทคโนแครตมันออกมาพูดว่าเราจำเป็นใช้กลไกตลาดหรือปล่อยให้ราคาน้ำมันลอยตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้น้ำมัน เราต้องออกมาบอกพวกมันว่า “ไอ้โกหก เลิกใช้ระบบเศรษฐกิจแบบกลไกตลาดได้แล้ว”

ที่เขียนมาทั้งหมดเป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆในการใช้ระบบเศรษฐกิจแบบกลไกตลาด ที่สร้างปัญหาให้กับคนจนมาโดยตลอด เป็นระบบที่เอื้อประโยชน์กับชนชั้นนายทุน พวกนายทุนจึงสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบนี้กันถ้วนหน้า แต่อย่างลืมว่านายทุนเป็นเพียงคนส่วนน้อยของสังคมที่มีเพียงไม่ถึง 10 เปอร์เซ็น เราจึงไม่ควรปล่อยให้พวกนายทุนควบคุมการจัดสรรค์ทรัพยากรของสังคมอีกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: